หน้าเว็บ

- การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน



          หลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศ ถูกราษฎร บุกรุกและครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประมาณ 1 ล้านครอบครัว มีการเรียกร้องขอ กรรมสิทธิ์ ในการครอบครองพื้นที่ป่าไม้ที่ได้บุกรุกครอบครองไว้ เป็นปัญหาที่ทวีขึ้นทุก ขณะ 

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ โดย พยายามเปลี่ยนราษฎรจาก สภาพผู้บุกรุกทำลายป่าให้กลายมาเป็นผู้อนุรักษ์ทรัพยากรป่า ด้วยทรงตระหนักถึงการพึ่งพาของคนและป่า ดังนั้น ในการที่คนจะอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทรงมีแนวพระราชดำริ ดังนี้




          1. จัดจำแนกความเหมาะสมการใช้ที่ดินตามลักษณะโครงสร้างของดิน การพัฒนาชุมชนต้องคำนึงถึงการจัดพื้นที่อย่างเหมาะสมแก่ราษฎร ซึ่ง ประกอบด้วย พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน พื้นที่ทำกินหรือพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่อนุรักษ์ 

          2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยใก้ราษฎรปลูกพืชเศรษฐกิจควบคู่ไป ก้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ 
          3. ส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกป่า และจัดการ ทรัพยากรด้วยตนเอง นอกจากการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรเพื่อเพิ่มรายได้ แล้ว ยังมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปลูกป่า ได้ทรงเสนอแนะให้ ตั้ง "ป่าไม้หมู่บ้าน" ขึ้นมา เพื่อให้ราษฎรเพาะต้นกล้าให้แก่ราชการ เป็นการเอื้อประโยชน์ ต่อกัน




          4. ส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้ราษฎรมีความรู้ พระราชกรณียกิจในการ เสด็จฯ เยี่ยมเยือนราษฎรแต่ละครั้งจะพระราชทานเครื่องเขียนแบบเรียน อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ แก่ครูผู้ทำงานในถิ่นทุรกันดาร บางพื้นที่ที่ทรงพบว่าไม่มีโรงเรียน เด็กๆ ไปเรียนลำบาก เพราะอยู่บนป่าเขาห่างไกลเกินไป ก็จะพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียน เมื่อชาวบ้านมีการศึกษา มีความรู้ ก็ย่อมเกิดความเข้าใจ เกิด สำนึกทางสังคม และสำนึกในทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นผลต่อเนื่องตามมา



          5. เสริมสร้างคุณธรรมและจิตสำนึก งานด้านอนุรักษ์ป่าไม้และต้น น้ำลำธารจะประสบผลดี มีความต่อเนื่อง และรักษาความสมบูร์ของธรรมชาติไว้ได้อย่างยั่ง ยืนเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจิตสำนึกของชาวบ้านเป็นสำคัญ เพราะแม้จะมีการ ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ มากมายเพียงไร ทุ่มงบประมาณสักเท่าใด มีวิทยาการมีระบบทันสมัย เพียงไร หากชาวบ้านในพื้นที่ไม่ร่วมใจ ไม่เห็นด้วย งานในพื้นที่นั้นก็ย่อมยากที่จะ ประสบความสำเร็จ 

          แนวพระราชดำริที่เน้นการสร้างเสริมคุณธรรมและจิตสำนึก จึงเป็น ปัจจัยอันสำคัญที่ทำให้ต้นน้ำลำธารของเมืองไทยวันนี้ ยังมีอยู่และมั่นใจได้ว่าจะอยู่อีกนาน เท่านาน การสร้างจิตสำนึกแก่ราษฎรตามแนวพระราชดำรินั้น ไม่ใช่วิธีแค่การพูด การสอน เท่านั้น แต่ถือว่าเป็นการกระทำที่เกิดประโยชน์ ซึ่งชาวบ้านเห็นได้ สัมผัสได้ และรับ ประโยชน์ได้จริงจากความอุดมสมบูรณ์ของป่า ดิน และน้ำ นั้นจะเป็นเครื่องมือสร้างจิตสำ นึกตัวสำคัญ 
          การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหน่วยงานอย่างเอาพระราชหฤทัยใส่ และทรงหนุนช่วยอย่างจริงจัง ทรงรับรู้ถึงสภาพการทำงาน สภาพความเป็นอยู่ ทุกข์สุข ของผู้ปฏิบัติงาน พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณเช่นนี้ ย่อมเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ชะโลมเลี้ยงปณิธานและอุดมการณ์แห่งการทำงานให้หนักแน่นมั่นคง 
          เมื่อทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ราชการมีพลังใจ มีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วม กัน ผลก็คือ พลังสามัคคีในการประกอบกิจการงาน อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม